★★★ การกินอาหารมื้อหลักวันละ 1-2 มื้อหลัก มื้อเช้า 7-9 โมง มื้่อเที่ยง 12-13.00
กินอิ่มพอดี เคี้ยวละเอียดๆ
ชนิด รสชาติ และ ประโยชน์ของอาหารพอดีกับร่างกาย ณ ขณะนั้น เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้หายโรค ★★★
กำลังอยู่ในช่วงปรับปรุง กรุณาข้ามไปอ่านบทความอื่นก่อน

สิ่งต่อที่ต้องคำนึงเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร คือ
1.จำนวนมื้ออาหาร 2.เวลาอาหาร 3.ชนิดและประโยชน์ของอาหาร
จำนวนมื้ออาหาร

ในสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้เกี่ยวกับการกินอาหารมื้อเดียวว่าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายตามพระไตรปิฎกเล่ม 12 ข้อ 265 "กกจูปมสูตร" ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว เมื่อเราฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว ย่อมรู้สึกคุณ คือ
ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และ อยู่สำราญ
หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนการกินอาหารวันละ 1 มื้อ
จากหนังสือ “ยิ่งหิวยิ่งสุขภาพดี” โดย นพ.โยะชิโนะริ นะงุโม (Yoshinori Nagumo)
แปลโดยพิมพ์รัก สุขสวัสดิ์ จัดพิมพ์โดยสนพ. วีเลิร์น

ภาพถ่ายเมื่อตอนอายุ 58 ปี
นพ. Yoshonori Nagumo ผู้อำนวยการใหญ่ในโรงพยาบาลสี่แห่งในญี่ปุ่นพบว่า
- ความหิวเป็นกระบวนการที่ทำให้ร่างกายรักษาตัวเอง เมื่อเราหิวแล้วไม่ได้กินอะไร ร่างกายจะผลิต Growth Hormone (ฮอร์โมนช่วยชะลอวัย)และยีน Sirtuin ออกมาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอต่างๆในร่างกาย
- เมื่อร่างกายอิ่มกลไกนี้จะไม่ทำงาน
- เสียงท้องร้องเป็นสัญญานที่ร่างกายกำลังซ่อมแซมตัวเอง - นพ. Yoshonori เริ่มทานอาหารวันละมื้อเมื่ออายุ 45 ปี เพราะปัญหาเรื่องสุขภาพ หลังจากผ่านไป 10 ปีเขาไปตรวจร่างกายพบว่าอายุหลอดเลือดของเขาเท่ากับคนอายุ 26 ปี
หลักการเพิ่มเติม
- ทุกครั้งที่มีการย่อยอาหาร ร่างกายเกิดปฏิกิริยา เมแทบอลิซึม metabolism เพื่อย่อยและขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์ และทุกครั้งที่เกิดกลไกเมแทบอลิซึม จะเกิดอนุมูลอิสระทุกครั้ง ซึ่งเจ้าอนุมูลอิสระเป็นสาเหตุแห่งความเสื่อม
- การย่อยอาหารร่างกายจะต้องใช้เอนไซม์ในการย่อยอาหารซึ่งมีอยู่จำกัด ถ้าใช้ไม่พอร่างกายจะไปดึงเมตาบอลิกเอนไซม์มาช่วยย่อยซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นเปลืองเอนไซม์ในร่างกาย การกินอาหารวันละมื้อพอดีอิ่มช่วยประหยัดเอนไซม์ในร่างกาย
- ในแง่ของพลังงานทุกครั้งที่มีการย่อยอาหารร่างกายจะสูญเสียพลังงานไปกับการย่อย ดังนั้นการกินอาหารบ่อยๆเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานไปกับการย่อยอาหาร
|